วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Panel TV แต่ละชนิด มีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร

สำหรับ หน้าจอทีวีในปัจจุบันนี้ทั้ง LCD TV และ LED TV ก็จะใช้ Panel ที่ไม่เหมือนกัน หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วเจ้า “Panel” แต่ละชนิด มันมีข้อแตกต่างกันอย่างไร รวมไปถึงข้อดี ข้อเสีย และสุดท้ายแล้วเราควรจะเลือกใช้แบบใดกันแน่ แต่ไม่ต้องห่วงครับ!! บทความนี้จะพาท่านไปรู้จักกับ Panel ทั้ง 3 แบบที่ใช้กันในปัจจุบันคือ  IPS , VA และ TN 



1. Panel แบบ IPS ( In-Plane Switching )  
หน้า จอแบบ IPS นี้ ผมคิดว่าน่าจะคุ้นหูคุ้นตากันมากที่สุด เพราะส่วนมากเวลาเราไปเดินตามห้างก็จะเห็นคำนี้แปะอยู่บนทีวีหลายๆยี่ห้อ สำหรับข้อดีของ IPS ที่เด่นชัดที่สุดก็คือ “มุมมองที่กว้างขวาง” ถึง 178 องศา ที่ช่วยให้หน้าจอชนิดนี้ได้เปรียบกว่าหน้าจอชนิดอื่นๆในด้านตำแหน่งการรับชม ที่ไม่ว่าจะนั่งมุมไหน อัตราการผิดเพี้ยนของสี ก็จะน้อยมาก  แต่พูดข้อเสียของ IPS ก็คือในด้านการแสดงผล ”สีดำ”  ( black-level ) อาจจะยังไม่ดีเท่าหน้าจอแบบ S-PVA



ภาพเปรียบเทียบมุมมองด้านข้าง ระหว่างหน้าจอ IPS กับ VA


จอ IPS จะนิยมเรียกกันว่าจอแข็ง ( Hard Panel ) ส่วนตระกูล VA จะเรียกว่าจออ่อน หรือ ( Soft Panel )
ถ้าลองเอานิ้วลูบหน้าจอ VA จะขึ้นเป็นลายน้ำชัดเจนครับ

ชนิดของ Panel IPS ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทต่างๆ
- Super-IPS ( S-IPS )  
ให้ กำเนิดในปี 1998 โดยบริษัท Hitachi ซึ่งมีจุดมุ่งหมายคือพัฒนาคุณภาพของหน้าจอให้ดียิ่งขึ้นกว่าหน้าจอ IPS แบบเดิมทั้งในด้าน Response Time ที่ต่ำลงและการแสดงสีสัน ในปัจจุบันถูกผลิตโดยสองบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งวงการจอภาพคือ LG และ Philips ซึ่งทาง LG ก็ได้ใช้หน้าจอนี้กับทีวีของตัวเองโดยมีจุดขายที่มุมมองการใช้งานกว้างขวาง อีกด้วย 


มาดูภาพของพิกเซลหน้าจอ S-IPS กันครับ
จะเห็นว่าตัวพิกเซลซ้อนกันเป็นบั้ง ช่วยในเรื่องมุมมองด้านข้างได้ดีครับ

 - Horizontal IPS ( H-IPS )  
เป็น อีกหนึ่งชนิดของหน้าจอ IPS ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อแก้ไขในเรื่องของแสงรั่วตามขอบจอทั้งในมุมข้างและมุมตรง รวมทั้งแก้ไขภาพติดโทนม่วงในมุมมองด้านข้างและช่วยลด Noise อีกด้วย แต่ทั้งหมดนี้ก็ทำให้ตัวหน้าจอ H-IPS มีมุมมองที่แคบลงอีก


การเรียงพิกเซลของ H-IPS จะเป็นดังภาพครับ
- IPS-alpha ( Panasonic ) 
Panel แบบ IPS-alpha นี้ จริงๆถูกพัฒนาขึ้นมาจาก Panel ที่เรียกกันว่า IPS-Pro นั่นเอง โดยในปัจจุบันนั้นทาง Panasonic ได้นำมาใช้กับ LCD TV / LED TV ของตนเอง ข้อ ดีของ Panel ชนิดนี้จะมีในเรื่องของ Contrast Ratio ที่สูง และ Color Space หรือช่องว่างของสีที่กว้าง ส่งผลให้สามารถแสดงสีออกมาได้ครบถ้วนและเป็นธรรมชาติมากขึ้น เปรียบเสมือนการนำเอา Panel PVA และ ASV มารวมกัน โดยปราศจากข้อเสียในด้านของมุมมองที่แคบ

2. หน้าจอ Vertical Alignment (VA) 
ถ้าเปรียบเทียบหน้าจอ IPS , TN และ VA นั้น จุดเด่นที่สุดของ VA ก็คือสีดำที่ดำสนิท หรือให้ค่า Contrast Ratio ที่สูง สำหรับ หน้าจอ VA นี้ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของมุมมองที่น้อยกว่าแบบ IPS แต่ก็ถือว่ายังดีกว่าแบบ TN ยกตัวอย่างเช่นในฉากที่มืด จะทำให้เห็นรายละเอียดน้อยลงไปด้วย ถ้าไม่ได้นั่งอยู่ตำแหน่งตรงกลางจอภาพ แต่เรื่องสีสันก็ถือว่าออกแนวสว่าง สดใส 


ลองเปรียบเทียบความต่างของ Panel VA และ TN นะครับ
ด้านซ้าย VA จะแสดงสีดำได้ดำสนิทกว่าทาง TN ทางด้านขวา
 
- S-PVA ( Super Patterned Vertical Alignment )
Panel แบบ S-PVA ก็เป็นอีกหนึ่งแบบที่นิยมใช้กัน ( พัฒนาขึ้นมาจาก Panel แบบ MVA ) ซึ่งในปัจจุบันมีทั้ง Samsung และ Sony ที่ใช้ทำตลาดอยู่ โดยเป็น Panel 8 Bit ขึ้นไป ( 8 bit ช่วยให้แสดงสีได้ 256 ระดับใน 1 แม่สี ส่วนถ้าเป็น 10 Bit ก็จะแสดงผลได้มากกว่านั้น 4 เท่าคือ 1024 ระดับใน 1 แม่สี ) ข้อดีของ S-PVA คือการแสดงสีดำ ที่ให้ความดำมีมิติ และถูกพัฒนาให้มี Response Time ที่ต่ำลงเรื่อยๆ


พิกเซลแบบ S-PVA ( จาก Samsung  C7000 )

- ASV ( Axially Symmetric Vertical Alignment )
Panel ชนิดนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย Sharp 
โดย มีการเคลมไว้ว่าเป็นหน้าจอที่มีมุมมองกว้างขวางเช่นเดียวกัน ซึ่งทำตลาดภายใต้ชื่อเรียกว่า "Advance Super View" แต่โดยพื้นฐานก็ถูกพัฒนามาจากหน้าจอประเภท VA นั่นเองครับ 


ตัวอย่างพิกเซลใน Panel ASV ( ตัวนี้อยู่ใน Philips PFL9704 )

3. Panel แบบ TN ( Twisted Nematic )มา ถึง Panel แบบ TN หรือ Twisted Nematic ที่จะครองส่วนแบ่งในตลาดมากที่สุด  ด้วยข้อดี 2 ข้อที่ถือเป็นตัวตัดสินใจในการเลือกซื้อจอของผู้บริโภคนั่นคือ “ราคาถูก” และ  “มีค่า Response Time ที่ต่ำ“ ซึ่ง ในด้านราคานั้นก็ถือเป็นปัจจัยหลักเลย โดยส่วนมากจะพบเห็นได้ใน LCD TV รุ่นล่างไปจนถึงรุ่นกลาง ส่วนค่า Response Time ที่ต่ำก็จะทำให้ภาพเคลื่อนไหวไม่มีอาการกระตุกให้เห็น แต่ทั้งหมดนั้นแลกมากับข้อเสียอันใหญ่หลวงก็คือ มุมมองการรับชมที่แคบ และอัตราการผิดเพี้ยนของสีสูงกว่าหน้าจอแบบ IPS และ VA  ซึ่งมุมมองในแนวนอนทำได้เพียง 170 องศา และในแนวตั้งได้เพียง 160 องศาเท่านั้น 


 
ยี่ห้อ ประเภทของ Panel ที่ใช้ ( เป็นส่วนมาก )
LG S-IPS
Panasonic IPS-Alpha
Samsung S-PVA
Sharp ASV
Toshiba VA
Sony S-PVA
Philips *To be confirmed*

สรุปหลัง จากทำความรู้จักกับ Panel แต่ละชนิดกันแล้ว ทำให้เรารู้ถึงข้อดีและข้อเสียที่ต่างกันออกไป ผมขอสรุปอย่างสั้นๆว่าประเภทแรกคือ Panel TN ราคาถูกที่สุดเหมาะกับการใช้งานทั่วไปเช่นดูฟรีทีวีหรือดูภาพยนตร์ที่มีภาพ เคลื่อนไหวรวดเร็วเพราะมี Response Time ต่ำ ถัดมาคือ Panel IPS เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการมุมมองที่กว้างขวางและต้องการความแม่นยำของสีใน การแสดงผลให้ไม่ผิดเพี้ยน และสุดท้ายคือ  Panel VA เป็น Panel ที่มีจุดเด่นในด้านการแสดงสีดำมีค่า Contrast Ratio สูงแสดงรายละเอียดในที่มืดได้ดี และสุดท้ายนี้ไม่ว่าจะเป็น Panel ชนิดไหนก็ควรเลือกให้เหมาะสมตามความต้องการใช้งานของเราเองดีที่สุดครับ

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

รีวิวการต่อกล่องรับสัญาณดาวเทียม LEOTECH รุ่น LEO-809CKU



หลังจากเมื่อวานวันที่ 29 ก.ค.58 ได้รีวิวชุดปิกนิคจานดาวเทียม HI มาพร้อมกล่องรับสัญาณดาวเทียม LEOTECH รุ่น LEO-809CKU วันนี้ก็เริ่มประกอบเป็นรูปเป็นร่างกับทีวีรุ่นเก่าที่รับผ่านทางสาย AV 3 ทางสีแดง ขาว เหลือง ซึ่งขั้นตอนไม่ยุ่งยากมาก คือ ตั้งจานดาวเทียมให้ได้ตามมาตรฐานของดาวเทียม หลังจากนั้นนำสายนำสัญญาณ RG6 ชิลด์ 64% ต่อเข้ากับหัว LNB-KU Band HISATTEL (11300) รุ่น HI-1131KB รุ่นใหม่ Standard Single LNB และสายอีกด้านต่อเข้ากับกล่องรับสัญาณดาวเทียม LEOTECH รุ่น LEO-809CKU เป็นอันเสร็จ
ต่อมาทำการเปิด TV จอแบน ของผมเป็นยี่ห้อ LG Flatron รุ่น 29FD4RL-T1  29 นิ้ว ผลิตขึ้นเมื่อ ก.ค.2551 และกดปุ่มเปิด-ปิด ด้านหลังเครื่อง LEO-809CKU เปลี่ยนไปใช้ช่อง AV1 ของทีวี LG มี 3 ช่องต่อสัญญาณ คือ AV1 AV2 และ Component

วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

รีวิว LEOTECH Multiswitch 2x4 Full HD ผ่าน Lazada


LEOTECH มัลติสวิทซ์ 2x4 รุ่น MTSRE LEO MS24HD 00 (Silver) สินค้าเพิ่งมาถึงวันนี้ 29 ก.ค.58 โดยรถยนต์รับส่งของจาก Lazada สภาพการจัดส่งดี ไม่มีกระดาษรองกันกระแทกครับ กล่องใหญ่เกินไป โดยสั่งผ่านเว็บ Lazada ตามลิงค์ http://www.lazada.co.th/leotech-2x4-mtsre-leo-ms24hd-00-silver-871572.html


คุณสมบัติ
- มัลติสวิตซ์ 2X4 อุปกรณ์ตัดต่อสัญญาณดาวเทียม 2x4 รองรับ HD รับดาวเทียม 1 ดวง
- ดูอิสระ 4 จุด รองรับความถี่ 950 ~ 2,150
- อุปกรณ์ตัดต่อสัญญาณดาวเทียมในระบบดิจิตอลแบบแยกจุดรับชมอิสระ
- สามารถใช้กับเครื่องรับ HD & SD ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
- มีวงจรขยายสัญญาณภายในตัว (Built-in Amplifiers) (MS24HD, MS44HD, MS68)
- ตัวต่อแนวการรับ V-H ไม่มีผิดพลาด ด้วยระบบ APS (Adaptor Power Supply)
- ใช้ได้ทั้ง DiSEqC1.0 และ DiSEqC2.0 (เฉพาะ MS-68)
- ใช้วัสดุคุณภาพสูง Zinc Nickel-Plated และการแบบอย่างมืออาชีพ Professional Design

รีวิว LEOTECH ชุดจานดาวเทียมปิคนิค ผ่าน Lazada


LEOTECH ชุดจานดาวเทียมปิคนิค แบบตั้งพื้น 35 เซนติเมตร (สีเขียว) + กล่องรับสัญญาณดาวเทียม รุ่น LEO-809CKU (สีดำ) แถมฟรี Hisattel LNb KU 11300 ipm สาย + RG6 20 เมตร + F6T สินค้าเพิ่งมาถึงวันนี้ 29 ก.ค.58 โดยรถยนต์รับส่งของจาก Lazada สภาพการจัดส่งดี มีกระดาษรองกันกระแทกครับ พอดีกล่อง แต่ไม่มีคู่มือการประกอบจาน โดยสั่งผ่านเว็บ Lazada ตามลิงค์ http://www.lazada.co.th/leotech-35-leo-809cku-hisattel-lnb-ku-11300-ipm-rg6-20-f6t-1313305.html


จานดาวเทียมปิคนิค เป็นจาน Offset ขนาด 35 เซนติเมตร
- สามารถนำไปใช้ร่วมกับเครื่องรับ LEOTECH, TRUE, DTV, PSI, GMM, SUNBOX, IPM และอื่นๆ เหมาะสำหรับการพกพา หรือไปแคมปิ้ง
- รับสัญญาณภาพคมชัดในระบบ
Thaicom KU-BAND DIGITAL
(ไม่แนะนำใช้รับสัญญาณ NSS6 เนื่องจากรับได้สัญญาณน้อย)
- เล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบา
- ใช้พื้นที่ในการตั้งน้อย ฐานเป็นสี่เหลี่ยมวางตั้งพื้นภายในบ้านได้
- ติดตั้งง่ายได้ด้วยตนเอง
- มีให้เลือกทั้งหมด 6 สี คือ สีเขียว สีแดง สีส้ม สีเหลือง สีชมพู และสีฟ้า

หมายเหตุคำแนะนำใช้งานเบื้องต้น
- ตำแหน่งติดตั้ง ต้องโล่ง โปร่ง สามารถหันหน้าจาน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ได้ โดยไม่มีตึก อาคาร หรือต้นไม้ใหญ่บดบังทิศทาง
- ให้ปรับมุมก้มเงยของหน้าจาน ประมาณ 50 - 55 องศา
- ตำแหน่งหัวรับสัญญาณ LNB ให้หันขั้ว F ปลายสาย ชี้ไปที่ประมาณ 5 โมงเย็น
- กดปุ่ม INFO ที่รีโมท ของช่องใดก็ได้ เพื่อสังเกตุแถบคุณภาพสัญญาณ เกณฑ์สัญญาณต้องมากกว่า 60% ขึ้นไป
- โดยปรับที่ทิศทางหน้าจาน ซ้ายขวา และก้มเงย และบิดปรับละเอียดที่หัวรับ LNB ช่วยด้วย




รายละเอียด กล่องรับสัญญาณดาวเทียม LEOTECH รุ่น LEO-809CKU (สีดำ)


Tuner

  Input Frequency Range
  950 ~ 2150 MHz
  Input Lever
  -79 ~ -11dBm
  Input Connector
  75 ohm. F-Type Female
  IF Band Width
  27 ~ 36 MHz
  LNB Power
  13/18V
  LNB Tone Switch Control
  22KHz Tone / DiSEqC 1.0
  Video

  Out Format
  NTSC/PAL-B/G
  Video output Level
  1V ± (20mV) p-p
  Resolution
  720 x 576
  Aspect rate
  4:3, 16:9
  Output type
  RCAx3, RFx1
  Demodulator

  Decode Format
  MPEG-2
  Symbol Rate
  2 ~ 45 Maps
  Waveform
  QPSK (scpc, mcpc)
  Bit Rate
  ≤ 15 Mbps
  Audio

  Frequency Response
  20Hz to 20KHz Hi-Fi
  Output Type
  L/R (2 way)
  Sampling Rate
  32 / 44.1 / 48 KHz

คุณสมบัติ LEOTECH กล่องรับสัญญาณดาวเทียม รุ่น LEO-809CKU
1. ดูฟรีมากกว่า 200ช่อง ไม่มีรายเดือน (ผ่านระบบ C-band)
2. รับไทยคมได้ 2 ระบบ ทั้ง C-band / Ku-band
3. รับชมช่องดิจิตอลทีวีได้ครบ
4. รองรับการถ่ายทอดสด ช่อง 3 5 7 9 NBT TPBS
5. Auto OTA เพิ่มช่องอัตโนมัติ
6. Fast OTA คือการอัพเกรด OTA ได้เร็วมาก เพียงไม่กี่วินาที
7. Fast Select Satellite เพียงกดปุ่ม Search ปุ่มเดียวเลือกดาวเทียมได้ (Thaicom-C,NSS6, Thaicom-Ku, CHINASAT-6B, AsiaSat 3S,AsiaSat 5, Palapa-C)
8. Fast Key คือ เข้าเมนู Key Edit เพื่อกรอก Biss Key ได้เร็วมาก เพียงกดปุ่ม Mute ค้างไว้ 3 วินาที
9. กดปุ่ม Recall ค้างไว้ 3 วินาที จะเข้าคืนค่าโรงงานทันที โดยไม่ต้องเข้าเมนู
10. กดปุ่ม TV/Radio จะขึ้นข้อความถามก่อนว่า “จะเปลี่ยนเป็นวิทยุใช่ไหม!” เพื่อป้องกันการที่ลูกค้า ไปกดโดยไม่ตั้งใจ เเล้วกลับมาดูรายการทีวีปกติไม่ได้
11. ทีวีที่ไมมีพอร์ต AV ก็ใช้ได้ด้วยสัญญาณ RF OUT CH.10
12. ใช้ระบบ OTA ที่มีประสิทธิภาพสูงผ่าน CAT กสท. โทรคมนาคม
13. การรับประกันสินค้า 2 ปี ภายใต้เงื่อนไขของ บจก. ลีโอเทค

การเปิดใช้งานเครื่องรับสัญญาณ:
เมื่อเปิดเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมที่ตัวเครื่องเเล้วจะปรากฏภาพหน้าจอต้อนรับของเครื่องรับสัญญาณ
เเละเข้าสู่การอัพเดพข้อมูล OTA โดยอัตโนมัติให้รอจนกระทั่งระบบทำงานจบกระบวนการ

การเลือกดาวเทียม
1. กดปุ่ม Search ที่รีโมทเพื่อเลือกดาวเทียม
2. กดปุ่มเลื่อนไปทางซ้ายหรือขวาเพื่อเลือกดาวเทียมที่ต้องการ ** ใช้ในกรณีที่ติดจานดาวเทียมมากกว่า 1 ดวง

การตรวจเช็คเวอร์ชั่น OTA
- กดเปลี่ยนช่องรายการ ไปที่ช่องใดก็ได้จะเห็นเวอร์ชั่น OTA ที่หน้าจอค่ะ

การตั้งค่า OTA
1. ใช้ในกรณีที่ไม่ต้องการให้เครื่องทำการ OTA ช่องรายการให้โดยอัตโนมัติ
2. กดที่ปุ่ม MENU บนรีโมท > เลือกไปที่รูปฟันเฟือง
3. กดปุ่มเลื่อนลงมาที่ : การตั้งค่า OTA
4. ใส่รหัสผ่าน : 0000
5. กดปุ่มเลือนไปทางซ้ายหรือขวาเพื่อตั้งค่าเปิด - ปิด OTA


LNB-KU Band HISATTEL (11300) รุ่น HI-1131KB รุ่นใหม่ Standard Single LNB
- ใช้กับจาน DSTV ในระบบ KU-BAND
- HD Ready รองรับระบบภาพความละเอียดสูง High Definition
- เหมาะสำหรับใช้รับสัญญาณ DREAMBOX,
LEOTECH, TRUE, DTV, PSI, GMM, SUNBOX, IPM และอื่นๆ 
- ค่าการรบกวนสัญญาณต่ำมาก เพียง 0.2 dB
- ป้องกันน้ำได้ดีเยี่ยม
- ตั้งค่า LNB เป็น 11300, หันหัว F ไปที่ 16.30 น.



IPM สายนำสัญญาณ RG6 ชิลด์ 64% ยาว 20 เมตร (สีขาว) แถมฟรีหัว F6T สำหรับเข้าหัว-ท้ายสายนำสัญญาณ 2 ตัว)
คุณสมบัติ
- เหมาะสำหรับระบบ CATV, MATV, CCTV และ Satellite
- เหมาะสำหรับงานติดตั้งภายในบ้าน หรือ ภายในตัวอาคาร
- ทนทานต่อสภาพอากาศร้อนได้ดี
- สายนำสัญญาณโคแอกเชียล RG 6
- คุณภาพสูง มาตรฐานระดับโลก (USA Standard) ที่ทั่วโลกยอมรับ
- ผลิตภายใต้การควบคุมตามมาตรฐาน ISO 9001:2000
- Jacket ด้านนอกใช้พลาสติก PVC อย่างดี (ไม่ใช่พลาสติกรีไซเคิล)


Flash Drive รางวัลชิ้นแรกจาก Toluna


ขอบคุณของรางวัลจาก Toluna โดยส่วนตัวไม่คิดว่าจะได้เลย...เพราะเป็นสมาชิกกับ Toluna ก็นาน ทำแบบสอบถามบ้างไม่ทำบ้าง คะแนนก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ได้จังหวะนี้ล่ะ ผมเลยทดลองแลกของรางวัลสักชิ้นจึงเลือก Flash Drive 2GB เป็นรูปตัวการ์ตูนนักบินน่ารักๆ สีน้ำเงิน ใส่แว่นตัวดำ ผูกเนคไทคล้ายกับตัวต่อของ Lego Toy ถอดหัวออกก็จะเจอเป็น USB สำหรับเสียบเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ขาและแขนเคลื่อนไหวได้ น่าใช้มากๆ ครับเพื่อน แต่ปัจจุบัน Flash Drive ถูกๆ แรมมากๆ มีขายตามท้องตลาดเป็นจำนวนมาก ช่วยเพิ่มแรมให้มากขึ้นก็น่าจะดี...แฮ่ๆ


Toluna คืออะไร
Toluna คือ ชุมชนออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้คุณแสดงความเห็น บอกผู้จำหน่ายสินค้าและบริการชั้นนำของโลกให้ทราบว่าคุณคิดอย่างไร แล้วรับของรางวัลจากการตอบแบบสำรวจ คุณสามารถสร้างโพลหรือออกความเห็นไว้ที่ Toluna โดยตรง ให้ผู้อื่นทราบว่าคุณคิดอย่างไร แล้วดูสิว่าพวกเขาคิดเหมือนกับคุณหรือไม่ คุณสามารถรวบรวมโพลและกระทู้ของคุณบน Toluna ไว้ในบล็อกหรือเว็บไซต์ส่วนตัว บริการทั้งหมดที่มีในเว็บไซต์ของเรานั้นไม่มีค่าใช้จ่าย คุณยังได้รับคะแนนเป็นการตอบแทนเมื่อเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของ Toluna